การประเมินสมรรถนะการทำงานของบุคลากรกองคลังวันที่ 16 มีนาคม 2555 โดย คุณสุปราณี บัวงามดี การประเมินสมรรถนะควรประเมินโดยแบ่ง
เป็น 2 ส่วน คือ 1. การประเมินพฤติกรรม 2. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ซึ่งการประเมินที่มีคุณภาพควรกำหนดตัวชี้วัดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการซึ่งการกำหนดเป้าหมายนั้นควรกำหนดเป้าหมายทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณและมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา ขั้นตอนการจัดทำเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัด 1.
ต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายร่วมกันตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ 2. นำกระบวนงานมากำหนดตัวชี้วัดและผู้รับผิดชอบและถ่ายทอดตัวชี้วัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ 3. กองต้องกำหนดเกณฑ์
จำนวนตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก รายบุคคลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 4. รวบรวมตัวชี้วัดรายบุคคลให้หัวหน้างาน/ผอ.กองพิจารณา 5.
ผู้ประเมินและผู้รับประเมินลงนามรับทราบถึงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายร่วมกัน 6.
กองต้องรวบรวมค่าเป้าหมายและขึ้นเว็บไซต์เพื่อประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน 7.
ผู้ประเมินติดตามการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่กำหนด 8. สิ้นรอบการประเมินผู้ประเมินรวบรวมผลการประเมินนำเสนอผู้อำนวยการกอง 9.
เมื่อผู้อำนวยการกองลงนามให้ความเห็นแล้วผู้ประเมินต้องแจ้งผลการประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบ ข้อควรคำนึงในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงาน S เจาะจง(Specific) มีความเจาะจงว่าต้องการทำอะไรและผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร M วัดได้(Measurable) สามารถวัดผลได้และตัวชี้วัดไม่มากเกินไป A เห็นชอบ(Agree Upon) มีความเห็นชอบร่วมกันระหว่าผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติการ R เป็นจริงได้(Realistic) มีความท้าทายและสามารถทำสำเร็จได้ T กรอบเวลาที่เหมาะสม(Time
Bound) มีระยะเวลาที่เหมาะสมไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ผู้ประกาศข่าว : Webmaster |
||