knowledgeshow

 การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) 

จากการได้เข้าร่วมโครงการ “โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร(KM)”  ในวันที่ 24 ธันวาคม 2555 นั้น ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์มากมายและเห็นว่าเรื่องของ KMเป็นเรื่องที่ง่ายไม่ยากอย่างที่เคยเข้าใจ ซึ่งหลักการง่ายๆ ในการจัดการความรู้(KM) มีอยู่ 3 K ได้แก่  KV  KS  KA 

            KV  มาจากคำว่า Knowledge Vision คือ ต้องรู้ว่าเราต้องการจะจัดการความรู้ในเรื่องอะไร เช่น การจัดโครงการครั้งนี้ KV คือ KM the KM กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

            KS  มาจากคำว่า Knowledge Sharing  คือ ต้องมีการนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น เช่น การจัดโครงการครั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้นำการจัดการความรู้ที่ใช้ได้ผลในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มาเล่าให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้ฟัง

            KA  มาจากคำว่า Knowledge Access ต้องมีวิธีการที่จะนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้นั้นออกมาเป็นรูปธรรมและมีการนำไปใช้ได้จริง 

ซึ่งจากการได้ฟังมานั้นพอจะสรุปได้เป็นขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. เราต้องรู้ปัญหาหรือประเด็นที่เราคิดว่าจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ชัดเจน เช่น เราพบว่าตอนนี้เรามีปัญหาเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคคลากรภายในหน่วยงาน  เราต้องตั้งเป้าในการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

2. หา Best Practice ที่ดีมาเป็นตัวอย่างเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาข้อเสนอแนะร่วมกันซึ่งอาจเป็นบุคลากรภายนอกหรือภายในหน่วยงานตนเองก็ได้

3. สกัดเอาความรู้ที่ได้ออกมาเขียนเป็นหนังสือหรือการเขียน Blog หรือวิธีการอื่นที่เป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้ออกมาเป็นแนวปฏิบัติให้คนอื่นๆได้นำไปใช้ต่อไป

4. ต้องมีการติดตามการนำไปใช้ว่ามีใครนำไปใช้หรือเปล่าและได้ผลอย่างไร

ซึ่งแต่ละขั้นตอนอาจต้องมีบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอน โดยมีการสมมุติตัวละครเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ได้แก่

  • คุณเอื้อ คือผู้บริหารของหน่วยงานที่มีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดำเนินการKMเพื่อแก้ไขและปรับปรุงการบริหารจัดการภายในหน่วยงานให้ดีขึ้น
  • คุณอำนวย คือผู้คอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการ KM ให้กับหน่วยงาน ร่วมถึงเป็นผู้ประสานงานให้เกิดการดำเนินการต่างๆ
  • คุณกิจ จะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในขั้นตอนการจัดการความรู้และจะเป็นผู้นำความรู้นั้นไปใช้ต่อไป

            การจัดการความรู้นั้นบางครั้งหน่วยงานไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดขึ้นเอง อาจเป็นการไปร่วมรับฟังการประชุม อบรม สัมมนาจากหน่วยงานอื่นที่เค้าจัดขึ้นมา และสกัดเอาความรู้ทีได้นำมาใช้ประโยชน์ในหน่วยงานเช่นนี้ก็เป็นการจัดการความรู้เช่นกัน    ดังนั้นถ้าทุกหน่วยงานทำได้ตามขั้นตอนนี้แล้วจึงจะเรียกกว่าเป็นการจัดการความรู้ที่แท้จริง

 



ผู้ประกาศข่าว : Webmaster